วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 11


วันพฤหัสบดีที่  19 พฤศจิกายน 2558เวลา 13.30-17.30 น.

  • ก่อนเข้าสู่เนื้อหาในวันนี้กิจกรรมแรกของเรา คือ การปั๊มก่อนเข้าเรียน วันนี้ดิฉันมาสายค่ะ คาบสุดท้ายเป็นการปิดคลอสการเรียนการสอนของรายวิชาการจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
  • กิจกรรมแรกของเราคือ การเล่านิทานจาก ปริศนา อะไรเอ่ย ? โดยใช้ชื่อว่า มันคืออะไร ดูแต่ละกลุ่มออกมาเสนอกันค่ะ
                                                                 ดาด้าคือหมีแพนด้า

ดิ๋งดิ๋งคือจิ้งโจ้

                                                                       หัวเห็ดคือเต่า

ป่องแป่งคือบอลลูน

                                                                        จิ๊ดริ๊ดคือผึ้ง


นิทานปริศนาของกลุ่มดิฉัน









  •  หลังจากที่นำเสนอเสร็จทุกกลุ่มแล้วอาจารย์ได้ให้นักศึกษาฝึกบริหารสมองซีกซ้ายและซีกขวาเมื่อมีสมาธิกลับมาก็เริ่มเรียนเนื้อหาที่อยู่ในใบงาน เนื้อหามีดังนี้

การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อส่งเสริมประสบการณ์ทางภาษา
      สิ่งแวดล้อมที่เน้นความหมายมากกว่ารูปแบบ ควรยอมรับการสื่อสารของเด็กในรูปแบบต่างๆ โดยคำนึงถึงความหมายที่เด็กต้องการสื่อมากกว่าความถูกต้องทางไวยากรณ์
       สิ่งแวดล้อมประกอบด้วยความหลากหลายทั้งด้านวาจาและไม่ใช่วาจา เด็กควรได้รับประสบการณ์และปฏิสัมพันธ์ที่หลากหลายรูปแบบ
ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
1.การแสดงความรู้สึกด้วยคำพูด
2. การสื่อสารกับผู้อื่น
            - ประสบการณ์ของตนเอง
            -  เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับตนเอง
            - สามารถอธิบายเกี่ยวกับสิ่งของ
           - อธิบายความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆได้
3. เด็กได้มีโอกาสฟัง และ มีความเข้าใจ
            -เรื่องราวนิทาน
            - คำคล้องจอง
            -  กลอน
4. การเขียนในหลายรูปแบบผ่านประสบการณ์ในที่สื่อความหมายต่อเด็ก
            - เขียนภาพ
           -  ขีดเขี่ยน
           - เขียนคล้ายตัวอักษร
           - เขียนเหมือนสัญลักษณ์
           - เขียนชื่อตนเอง
5. การอ่านในหลายรูปแบบผ่านประสบการณ์ในที่สื่อความหมายต่อเด็ก
           - อ่านภาพ
           - อ่านสัญลักษณ์จากหนังสือนิทาน
           - เรื่องราวที่สนใจ
           - กิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะทางภาษา
           - การเขียนตามคำบอกของเด็ก
           - ช่วยเด็กเขียนบันทึก
           - อ่านนิทานร่วมกัน
           - เขียนประกาศเพื่อแจ้งข่าว เตือนความจำ
           - อ่านคำคล้องจอง
          -  ร้องเพลง
          -  เล่าสู่กันฟัง
          - เขียนส่งสารถึงกัน

  • ต่อมาอาจารย์อธิบายถึงการเขียนแผนการเรียนการสอนของเด็กปฐมวัย ดังตัวอย่างดังนี้
กิจกรรม การ์ดวันแม่
จุดประสงค์
                1. เพื่อส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
                2. เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางการเขียน
                3. เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางการพูด
ประสบการณ์สำคัญ
                1. การแสดงความรู้สึกด้วยคำพูด
                2. การเขียน
กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำ
                1.ครูและเด็กร่วมกันร้องเพลง ใครกันเอ่ย
ขั้นสอน
                2.ครูและเด็กร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับวันแม่ แล้วให้เด็กๆช่วยกันนำเสนอคำอวยพร โดยครูจดบันทึกคำพูดของเด็กๆลงในกระดาษแผ่นใหญ่
                3. เด็กๆช่วยกันระดมสมองเพื่อเลือกคำอวยพรมาเพียง 1 หรือ 2 คำ
                4. เด็กๆช่วยกันออกแบบการ์ดอวยพร แล้ววาดภาพลงในกระดาษ A4 ถ้าเด็กคนใดเขียนหนังสือได้ก็ให้เขียนตามที่ครูจดบันทึกไว้ สำหรับเด็กที่ยังเขียนหนังสือไม่ได้ครูจะช่วยเขียนให้
ขั้นสรุป
                5.เด็กๆออกมานำเสนอการ์ดวันแม่ของตนเองหน้าชั้นเรียน
สื่อและอุปกรณ์
                1. กระดาษแผ่นใหญ่
                2. กระดาษ A4
                3. สีเทียน
การวัดผลประเมินผล
                1. สังเกตความคิดสร้างสรรค์จากการออกแบบการ์ดอวยพร
                2. สังเกตการวาดภาพและการเขียนคำอวยพร
                3. สังเกตการพูดแสดงความคิดเห็นและการนำเสนอหน้าชั้นเรียน


การบ้าน อาจารย์ให้นักศึกษาเขียนแผนการสอนมาส่ง


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
   สามารถนำวิธีการขั้นตอนการเขียนแผนการสอนนำมาใช้ได้ถูกต้องในอนาคตได้ และการทำปริศนาอะไรเอ๋ยช่วยทำให้กาเรียนการสอนมีความสนุกสนานทำให้เด็ก ๆ ไม่เบื่อพร้อมกับตื่นเต้นสนใจที่จะเรียนรู้มากยิ่งขึ้น
การประเมินผล

การประเมินผลของตนเอง มีความเข้าใจ 80 % กับการเขียนแผนการสอนและตั้งใจในระดับหนึ่ง
การประเมินผลของเพื่อน  เพื่อนตั้งใจฟังและสนุกสนานในการแสดงบทบาทสมมติแต่ละครั้ง เพื่อนให้ความร่วมมือดีทำให้บรรยากาศดูครึกครื้น


การประเมินผลของอาจารย์   อาจารย์ค่อยแนะนำการนำเสนอให้กับนำศึกษาเป็น ช่วง ๆ มีความใส่ใจและตรงต่อเวลากับการเรียนการสอนต่อนักศึกษาเสมอ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น